ประวัติ ของ สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1913)

คู่เจรจามีทั้งสันนิบาตบอลข่าน (เซอร์เบีย กรีซ ราชอาณาจักรบัลแกเรีย และมอนเตเนโกร) ที่เป็นฝ่ายชนะ และจักรวรรดิออตโตมันที่เป็นฝ่ายแพ้ ชาติมหาอำนาจมีอังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลีเป็นตัวแทน

ความเป็นปรปักษ์สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1912 จุดสำคัญสามจุดที่ยังพิพาทกันอยู่ คือ

  • สถานะของดินแดนซึ่งปัจจุบันคือ อัลเบเนีย ส่วนใหญ่ถูกรุกล้ำโดยเซอร์เบีย มอนเตเนโกรและกรีซ
  • สถานะของซันจักโนวีปาซาร์ (Sanjak of Novi Pazar) ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของออสเตรีย-ฮังการีอย่างเป็นทางการ นับแต่สนธิสัญญาเบอร์ลินใน ค.ศ. 1878
  • สถานะของดินแดนอื่นที่ถูกยึดครองโดยสัมพันธมิตร ได้แก่ คอซอวอ มาเซโดเนียและเธรซ

สนธิสัญญาดังกล่าวมีการเจรจาในกรุงลอนดอน ที่การประชุมระหว่างประเทศซึ่งเปิดตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1912 หลังอัลเบเนียประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912

ออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลีสนับสนุนการสถาปนาอัลเบเนียที่เป็นเอกราชอย่างแข็งขัน ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะต้องกับนโยบายที่แล้วมาของออสเตรีย-ฮังการีที่สกัดกั้นการขยายตัวของเซอร์บไปสู่ทะเลเอเดรียติก อิตาลีหมายปองดินแดนดังกล่าว ซึ่งปรากฏออกมาใน ค.ศ. 1939 รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบียและมอนเตเนโกร เยอรมนีและอังกฤษวางตัวเป็นกลาง สมดุลแห่งอำนาจปะทะกันระหว่างสมาชิกสันนิบาตอาหรับซึ่งถือว่าอัลเบเนียจะเป็นดินแดนยึดครองที่จะถูกแบ่งปันกันระหว่างประเทศทั้งหลาย